วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ 


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Rubber and Polymer Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต(เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ.(เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Rubber and Polymer Technology)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Rubber and Polymer Technology)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 13,000 บาท

ความสำคัญ ปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.1 ความสำคัญของหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ผลิตบุคลากรที่มีความพร้อมและความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางและพอลิเมอร์ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำของประเทศไทยและกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอด ช่วยสนับสนุนและยกระดับกระบวนการการผลิตและเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางและพอลิเมอร์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมให้สูงขึ้น บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพทั้งในหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ โดยเป็นหลักสูตรวิชาการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 1.2 ปรัชญาของหลักสูตร มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ใฝ่เรียนรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางและ พอลิเมอร์ได้ 1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1.3.1 มีความรู้ ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุม สอดคล้องและเป็นระบบในสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพในหน่วยงานของรัฐและเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือประกอบอาชีพอิสระได้ 1.3.2 มีทักษะการคิดวิเคราะห์และริเริ่มสร้างสรรค์ ในสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ไปพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางและพอลิเมอร์เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ 1.3.3 มีความรู้และประสบการณ์การเรียนรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม 1.3.4 มีทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร การจัดการสมัยใหม่ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.3.5 มีคุณธรรม จริยธรรมทางวิชาการและวิชาชีพ ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ สังคมและสภาพแวดล้อม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตที่จบจากสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ สามารถประกอบอาชีพต่างๆ ได้แก่ 1. เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ 2. เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิต 3. เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยางและพอลิเมอร์ 4. นักวิเคราะห์คุณภาพน้ำยางและยางแห้ง 5. นักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการทดสอบยางและพอลิเมอร์ 6. ผู้สอนและนักวิจัยในสถาบันการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7. นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ 8. ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมยางและพอลิเมอร์ หรือประกอบอาชีพอิสระ
จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร
6.1 จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : ไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต 6.2 รูปแบบของหลักสูตร 6.2.1 รูปแบบ หลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรีตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 6.2.2 ประเภทหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร(หมวดวิชาเฉพาะ,วิชาพื้นฐาน,วิชาบังคับ,วิชาเลือก)
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 31 หน่วยกิต 1.1 กลุ่มภาษา จำนวน 15 หน่วยกิต 1.2 กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ จำนวน 6 หน่วยกิต 1.3 กลุ่มวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์เทคโนโลยี และการจัดการ จำนวน 7 หน่วยกิต 1.4 กลุ่มวิชาเลือกศึกษาทั่วไป จำนวน 3 หน่วยกิต 2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 99 หน่วยกิต 2.1 กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 24 หน่วยกิต 2.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ จำนวน 67 หน่วยกิต 2.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก 2.3.1 แผนปกติ ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต 2.3.2 แผนสหกิจ ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต 3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต รวมหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต
รายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร(หมวดวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ)
แผนการศึกษา

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร(ประธาน)   ผศ.ดร.ศิริวัฒน์ ระดาบุตร

1. Rubber modification, adhesion and adhesive

2. Superhydrophobic polymer

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร   ผศ.ดร.นิภาวรรณ พองพรหม

Synthesis of biologically active N-heterocycles as cytostatic agents and natural product chemistry.

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร   ดร.ศันศนีย์ ศรีจันทร์

Polymer Modification

Rubber and Polymer Science

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร   ผศ.ดร.ศิริวัฒน์ ระดาบุตร

1. Rubber modification, adhesion and adhesive

2. Superhydrophobic polymer

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร   รศ.ดร.สายันต์ แสงสุวรรณ

Superadsorbent polymers, Hydrogels, Biodegradable Materials, Slow released fertilizer, metal and dye removal.